ประเพณีแข่งเรือยาวของจังหวัดพิจิตร

ประวัติความเป็นมา
ในอดีตการปกป้องรักษาบ้านเมือง นอกจากมีกำลังพลกองทัพบกแล้ว กำลังพลกองทัพ เรือ ก็มีความสำคัญในการรักษาเอกราชของชาติ ตั้งแต่สมัย กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ กำลังรบ ทางเรือในลำน้ำ แม่น้ำลำคลอง ใช้เรือพายเป็นหลัก การรบจะเรือพายเข้ามาชิด เรือข้าศึก และฝีพาย ซึ่งเป็นกำลังรบด้วย จะทำการเข้าประชิดตัวข้าศึก ทำการรบพุ่งกับ ข้าศึก. ดังนั้นเรือพายจึงเป็นกำลังหลักทางน้ำ ในยามบ้านเมืองสงบปราศจากข้า ศึก กองทัพเรือได้ทำเรือพายมาใช้ในการแข่งขันกีฬา เช่น การเล่นเพลาเรือ พระ เพณีพรและประเพณีแข่งเรือ

ประเพณีแข่งเรือยาวของจังหวัดพิจิตร
การแข่งเรือยาวของหวัดท่าหลวง เริ่มในสมัยท่าเจ้าคุณ พระธรรมทัสส์มุนีวงค์ (เอี่ยม) เจ้าอาวาสวัดท่าหลวง และเจ้าคณะจังหวัดพิจิตร เมื่อ ประมาณ พ.ศ. 2450 ได้กำหนดงานจัดงานแข่งขันเรือตามกำหนดวัน คือ วัน ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ภายหลังน้ำในแม่น้ำน่าน ลดลงเร็วเกินไป ไม่ เหมาะสมจะแข่งขันเรือยาว จึงเปลี่ยนมาเป็นวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 10 และทางวัด แข่งขันเพียงวันเดียว การแข่งขันเรือยาว ได้จัดนำผ้าห่มหลวงพ่อเพชร มอบให้ เป็นรางวัล สำหรับเรือยาวที่ชนะเลิศ และรองชนะเลิศ ต่อมาได้เปลี่ยนรางวัล เป็นธงที่มีรูปหลวงพ่อเพชรแทน

ประเภทและขนาดการแข่งขันเรือยาว
ขนาดฝีพาย 3 ขนาด คือ

1. ขนาดเล็ก ฝีพายไม่เกิน 28 คน
2. ขนาดกลาง ฝีพายไม่เกิน 40 คน
3. ขนาดใหญ่ ฝีพายไม่เกิน 55 คน

ประเภท 2 ประเภท คือ

ประเภท ก เรือยาวที่ทำการแข็งขัยแล้ววิ่งจัด
ประเภท ข เรือยาวที่ทำการแข็งขันแล้ววิ่งปานกลาง

ในปี 2532 ได้ปรับปรุงและเพิ่มประเภทการแข่งขัน ดังนี้

1. เรือที่แข่งขันในวันแรก และชนะจัดอยู่ในประเภท ก 1, ข 1.
2. เรือที่แข่งขันในวันแรกและแพ้ จัดอยู่ในประเภท ก 2, ข 2.

กำหนดการแข่งขันเรือยาวประเพณี
กำหนดการแข่งขันเรือยาวประเพณี วันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ของต้นเดือนกันยายนของทุกปี ณ บริเวณวัดท่าหลวง