‘ลงทะเบียนว่างงาน’ อัพเดทล่าสุดกับ ‘ประกันสังคม’ กรณีโควิด-19

สิทธิลูกจ้างและขั้นตอนการ “ลงทะเบียนว่างงาน” ผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อขอรับเงินชดเชยจาก “ประกันสังคม” กรณีได้รับผลกระทบจาก “โควิด-19” และกรณีการว่างงานอื่นๆ

 

นั่นจึงหมายความ “มนุษย์เงินเดือน” ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ใน “ประกันสังคมมาตรา 33” จะไม่สามารถรับเงินจากโครงการเราไม่ทิ้งกันในครั้งนี้ แต่มีสิทธิ์รับเงินชดเชยจากประกันสังคมในฐานะผู้ว่างงาน ผ่านการ “ลงทะเบียนผู้ว่างงาน” ทั้งกรณีที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รวมถึงกรณีอื่นๆ ได้ ตามเงื่อนไขที่กำหนด

โดยล่าสุด วันที่ 31 มีนาคม 2563 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอขอทบทวนอัตราและระยะเวลาการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามร่างกฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย เงื่อนไขใหม่ ดังนี้

 

1. ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามมาตรา 79/1 มีสิทธิได้รับเงินทดแทนในกรณีว่างงานในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายวัน (จากเดิมอัตราร้อยละ 50) โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่ผู้ประกันตนไม่ได้ทำงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยที่นายจ้างรับรอง หรือนายจ้างไม่ให้ทำงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ แต่ทั้งนี้ไม่เกิน 90 วัน (จากเดิมไม่เกิน 180 วัน)

2. ในกรณีหน่วยงานภาครัฐมีคำสั่งให้นายจ้างหยุดประกอบกิจการ เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่ไม่ได้รับค่าจ้างมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามมาตรา 79/1 ในอัตราร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายวัน (จากเดิมอัตราร้อยละ 50) โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่นายจ้างหยุดประกอบกิจการตามคำสั่ง แต่ทั้งนี้ไม่เกิน 90 วัน (จากเดิมไม่เกิน 60 วัน)

กล่าวโดยสรุปคือ “สิทธิที่ลูกจ้างที่มีประกันสังคมจะได้รับกรณีได้รับผลกระทบโควิด-19” ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 มีดังนี้